การวิเคราะห์จุดคุ้มทุนคือการนำแนวคิดจุดคุ้มทุนมาวิเคราะห์เพื่อตัดสินใจกำหนดราคาขายนั้น ช่วยให้ผู้บริหารสามารถคำนวณรายรับจากการขายต้นทุนรวมของกิจการและกำไรที่จะได้รับจากการตั้งราคารวมทั้งทำให้ทราบได้ว่ากิจการมีความเสี่ยงมากน้อยเพียงใดโดยดูตัวเลขของจุดคุ้มทุนกิจการต้องทำยอดขายขั้นต่ำเท่าไหร่จึงจะได้เงินทุนคืนมาทั้งหมด จุดคุ้มทุนจึงช่วยให้ผู้บริหารตัดสินใจเกี่ยวกับการกำหนดราคาขายกำหนดปริมาณขายและกำหนดผลกำไร
จุดคุ้มทุน คือระดับกิจกรรมการขายสินค้าที่ทำให้ได้กำไรเป็นศูนย์ จุดคุ้มทุนคือปริมาณขายสินค้าหรือบริการที่ทำให้ธุรกิจได้รับเงินลงทุนทั้งหมดกลับคืนมาและจุดคุ้มทุนกิจการจึงไม่มีกำไรไม่ขาดทุนคือกิจการได้ รายรับรวมเท่ากับต้นทุนรวมพอดี เกินจากจุดคุ้มทุนแล้วกิจการเริ่มมีกำไรก่อนถึงจุดคุ้มทุนกิจการยังคงขาดทุน
ประโยชน์ของการวิเคราะห์จุดคุ้มทุน
1. ช่วยในการวางแผนการตั้งราคาของธุรกิจช่วยให้ธุรกิจตัดสินใจได้ว่าควรตั้งราคาสินค้าอย่างไร ระดับราคาที่ตั้งไว้ธุรกิจจะถึงจุดคุ้มทุน เร็วหรือช้าหากปรับเปลี่ยนราคาขึ้นลงปริมาณขายที่ทำให้ถึงจุดคุ้มทุนเปลี่ยนแปลงมากน้อยเพียงใด
2. ช่วยในการวางแผนการผลิตเพราะธุรกิจทราบความสัมพันธ์ระหว่างต้นทุนคงที่ต้นทุนผันแปรราคาขายและปริมาณขายที่จะมีผลต่อกำไรหรือขาดทุนจากการดำเนินงานทำให้ธุรกิจวางแผนได้ว่าควรเพิ่มหรือลดการผลิตหรือไม่หากเปลี่ยนแปลงปริมาณผลิตต้นทุนสินค้าเป็นแปลงอย่างไรจุดคุ้มทุนเปลี่ยนแปลงอย่างไร
3. ช่วยในการวางแผนกำไร จุดคุ้มทุนทำให้ธุรกิจทราบว่า หากปริมาณขายสินค้ามากกว่าจุดคุ้มทุนธุรกิจจะได้กำไรธุรกิจจึงสามารถนำการวิเคราะห์จุดคุ้มทุนมาช่วยในการวางแผนหากธุรกิจต้องการกำไรระดับที่กำหนดต้องมีปริมาณขายเท่าใดต้องตั้งราคาเท่าใด
ข้อกำหนดของการวิเคราะห์จุดคุ้มทุน
หลักการวิเคราะห์จุดคุ้มทุนประกอบการตัดสินใจนั้นต้องกำหนดข้อสมมติฐานในการคำนวณดังนี้
1. การวิเคราะห์จุดคุ้มทุนนิยมใช้วิเคราะห์สินค้าชนิดเดียวหากวิเคราะห์สินค้าหลายชนิดใช้การแบ่งต้นทุนคงที่เฉลี่ยให้สินค้าแต่ละชนิดเท่ากันจึงไม่สะท้อนภาพของต้นทุนและกำไรของสินค้าแต่ละชนิดตามความเป็นจริง ซึ่งในความเป็นจริงของธุรกิจมีธุรกิจน้อยมากที่ผลิตและขายสินค้าเป็นชนิดเดียวจึงไม่นิยมนำการวิเคราะห์จุดคุ้มทุนไปวิเคราะห์ สินค้าหลายชนิดแต่ใช้การบริหารต้นทุนกิจกรรมมาคำนวณซึ่งทำให้เกิดความแม่นยำในการคำนวณต้นทุนกำไรตัดสินใจตั้งราคาให้ถูกต้องมากกว่า
2. ต้องแยกให้ได้ว่าต้นทุนใดเป็นต้นทุนคงที่หรือต้นทุนผันแปรอย่างชัดเจนหากแบ่งแยกผิดพลาดการคำนวณจุดคุ้มทุนผิดพลาด เช่นเงินเดือนผู้บริหารหากจ่ายเป็นอัตราแน่นอนเท่ากันทุกเดือนถือเป็นต้นทุนคงที่ แต่ค่าตอบแทนอื่นที่ให้ผู้บริหารเช่นค่าล่วงเวลาถือเป็นต้นทุนผันแปร
3. ตั้งสมมุติให้ต้นทุนคงที่ไม่เปลี่ยนแปลง ซึ่งในความเป็นจริงต้นทุนคงที่จะเท่ากันไม่เปลี่ยนแปลง ณ ระดับการผลิตหนึ่งเท่านั้นเช่นหากระดับการผลิตเกินจากกำลังผลิตของเครื่องจักรต้องซื้อเครื่องจักรใหม่ทำให้ต้นทุนคงที่เปลี่ยนแปลงจึงต้องคำนวณจุดคุ้มทุนใหม่
4. ต้องสมมุติให้ต้นทุนผันแปรต่อหน่วยคงที่ราคาขายต่อหน่วยคงที่ซึ่งในความเป็นจริงหากธุรกิจซื้อวัตถุดิบมากๆจะได้รับส่วนลดทำให้ต้นทุนค่าวัตถุดิบต่อหน่วยลดลงหรือราคาวัตถุดิบในบางฤดูกาลเปลี่ยนแปลงตามอุปสงค์และอุปทานนอกจากนั้นภาวะผันผวนทางเศรษฐกิจและสภาพแวดล้อมในปัจจุบัน เกิดขึ้นเร็วมากทำให้ต้นทุนผันแปร เปลี่ยนแปลงขึ้น ลงเร็ว เช่นการเปลี่ยนแปลงอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศหรือราคาน้ำมันปรับราคาสูงขึ้น ราคาวัตถุดิบปรับราคาตามราคาน้ำมัน
5. ปริมาณผลิตต้องขายได้ทั้งหมดจึงจะได้กำไรตามที่คำนวณไว้หากปริมาณขายได้ไม่หมดทำให้กำไรลดลงด้วยแต่ปริมาณขายยังขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปด้วยตามที่กล่าว ในข้อ 3.4
ดังนั้น ถ้ากำหนดให้
1. จุดคุ้มทุน (หน่วยขายที่คุ้มทุน) = ต้นทุนคงที่ / ( ราคาขายต่อหน่วย – ต้นทุนผันแปรต่อหน่วย )
P เป็น ราคาขายต่อหน่วย (Selling Price per Unit)
Q เป็น ปริมาณขาย (Sales Quantity)
TFC เป็น ต้นทุนคงที่รวม (Total Fixed Cost)
TVC เป็น ต้นทุนผันแปรรวม (Total Variable Cost)
AVC เป็น ต้นทุนผันแปรเฉลี่ยต่อหน่วย (Average Variable Cost)
TR เป็น รายได้รวม (Total Revenues
จุดคุ้มทุน (หน่วยขายที่คุ้มทุน) = ต้นทุนคงที่ / ( ราคาขายต่อหน่วย – ต้นทุนผันแปรต่อหน่วย )
และปริมาณการขาย ณ ระดับกำไรจากการดำเนินงาน (EBIT) ที่ต้องการ คำนวณได้ดังนี้
และปริมาณการขาย ณ ระดับกำไรจากการดำเนินงาน (EBIT) ที่ต้องการ คำนวณได้ดังนี้
ตัวอย่างที่ 3
บริษัทรอบคอบจำกัดตั้งราคาขายสินค้าชนิดหนึ่งไว้ในราคาหน่วยละ 80 บาทโดยต้องเสียค่าเช่าร้านและค่าใช้จ่ายคงที่อื่น
อื่นๆรวม 100,000 บาทค่าใช้จ่ายผันแปรหน่วยละ 30 บาทจงหา
1. ปริมาณขาย ณ จุดคุ้มทุน
2. ยอดขาย ณ จุดคุ้มทุน
3. ถ้าบริษัทต้องการกำไรจากการดำเนินงาน 3,000 บาทจะต้อง ขายสินค้าให้ได้ในจำนวนเท่าใด
1. จุดคุ้มทุน (หน่วยขายที่คุ้มทุน) = ต้นทุนคงที่ / ( ราคาขายต่อหน่วย – ต้นทุนผันแปรต่อหน่วย )
= 150000
80-30
= 3000 หน่วย
2. ยอดขาย ณ จุดคุ้มทุน = ราคาขายต่อหน่วย x ปริมาณขาย ณ จุดคุ้มทุน
= 80 x 3,000
= 240,000 บาท
3.ปริมาณขาย ณ ระดับ EBIT ที่ต้องการ = ( ต้นทุนคงที่รวม+BEIT ที่ต้องการ) / (ราคาขายต่อปริมาณ-ต้นทุนผัน )
= (15000+30000 ) / (80-50)
= 3,600 หน่วย
ดังนั้นถ้าบริษัทต้องการกำไรจากการดำเนินงาน 30,000 บาทต้องขายสินค้าให้ได้ 3600 หน่วยจากความหมายของจุดคุ้มทุนจะเห็นว่าจุดคุ้มทุนจะเปลี่ยนแปลงได้ 3
กรณี
1 ราคาขายต่อหน่วยเปลี่ยนแปลง
2 ต้นทุนคงที่เปลี่ยนแปลง
3 ต้นทุนผันแปรเฉลี่ยต่อหน่วยเปลี่ยนแปลง
ดังนั้นถ้ากิจการต้องการกำไรเพิ่มขึ้นก็ต้องเปลี่ยนแปรหลักการดำเนินงานปัจจุบันซึ่งสามารถทำได้โดยเพิ่มราคาขายต่อหน่วยหรือลดต้นทุนคงที่รวมหรือลดต้นทุนผันแปรเฉลี่ยต่อหน่วย
ที่มา: http://oservice.skru.ac.th/ebookft/355/chapter11.pdf
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น