ความหมายของความเสี่ยงทางธุรกิจ
การบริหารความเสี่ยงที่ควรจะถือว่าเป็นการบริหารจัดการหลักของกิจการทุกกิจการ
คือ การบริหารความเสี่ยงทางธุรกิจ (Business Risk) เพราะผลกระทบของความเสี่ยงทางธุรกิจคือ
ผลประกอบการโดยรวมหรือความสามารถในการทำกำไรของกิจการ ซึ่งเราอาจจะเรียกความเสี่ยงประเภทนี้อีกอย่างหนึ่งว่า
“Company Risk”วิธีการบริหารจัดการกับความเสี่ยงทางธุรกิจ
ก็คือ การมองดูที่สถานการณ์และสภาพแวดล้อมภายในกิจการควบคู่กับสภาพแวดล้อมภายนอก
เพื่อค้นหาปัจจัยความเสี่ยง และจัดการกับปัจจัยความเสี่ยงเหล่านี้อย่างเหมาะสมและเพียงพอปัจจัยความเสี่ยงภายนอกที่ก่อให้เกิดเหตุการณ์ความเสี่ยงทางด้านธุรกิจ
ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงของความต้องการสินค้าและบริการที่อาจจะมีแนวโน้มลดลงจากเดิม
ไม่ว่าจะเป็นไปตามวัฎจักรทางธุรกิจหรือวงจรชีวิตของผลิตภัณฑ์หรือไม่ก็ตาม
ต่างก็ส่งผลต่อการสูญเสียทางธุรกิจให้แก่คู่แข่งขันทั้งสิ้นหากเป็นกรณีของปัจจัยความเสี่ยงทางธุรกิจที่มาจากภายนอกกิจการแล้ว
ก็เป็นการยากที่กิจการจะบริหารจัดการปัจจัยความเสี่ยงดังกล่าวได้
ด้วยวิธีการควบคุม เหมือนกับการควบคุมภายในในส่วนของปัจจัยความเสี่ยงที่มาจากสภาพแวดล้อมภายในกิจการอย่างเช่น
ก)
ความไร้ประสิทธิภาพของกิจกรรมทางการตลาด หรือ
ข)
คุณภาพและศักยภาพของทีมขายจนทำให้ผลประกอบการออกมามาเป็นไปตามความคาดหมายหรือเป้าหมายที่กำหนดไว้
กรณีของปัจจัยความเสี่ยงทางธุรกิจที่มาจากภายในกิจการเช่นนี้
ผู้บริหารกิจการสามารถบริหารจัดการได้ด้วยการปรับแผนงานส่งเสริมทางการตลาดหรือปรับปรุงทีมงานขาย หรือเพิ่มการอบรมเพื่อเพิ่มศักยภาพของทีมขายได้หรือในกรณีที่งานการผลิตสินค้าและบริการเป็นปัจจัยความเสี่ยงทางธุรกิจเป็นความเสี่ยงสำคัญ
ผู้บริหารก็สามารถที่จะปรับโครงสร้างการผลิต เพื่อที่จะลดความเสี่ยงทางธุรกิจลงสภาพแวดล้อมทางธุรกิจในปัจจุบันและในอนาคต
ความเสี่ยงทางธุรกิจก็จะยังคงเป็นความเสี่ยงสำคัญที่กิจการทุกกิจการยังคงต้องบริหารจัดการเป็นงานประจำวันอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอเนื่องจาก
1. สภาพแวดล้อมภายในและตัวธุรกิจเองมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ
ไม่คงที่ ไม่แน่นอน
2. สภาพแวดล้อมภายนอกกิจการเอ
ตลอดจนสถานการณ์ต่าง ๆ ก็มีความเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา
และสามารถสร้างภัยคุกคามและอุปสรรคต่อการดำเนินงานของกิจการได้เสมอในต่างประเทศเคยมีการสำรวจความคิดเห็นของกิจการต่าง
ๆ เกี่ยวกับความเสี่ยงทางธุรกิจ และผลการสำรวจในปี 2010 ได้ให้ข้อมูลที่น่าสนใจหลายประการ
การสำรวจได้ให้ความสำคัญกับการสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับ 10 ปัจจัยเสี่ยงทางธุรกิจที่กิจการต่าง
ๆ ต้องเผชิญหน้าอยู่ โดยแยกประเภทธุรกิจออกเป็น 14 ประเภท
บทสรุปที่ควรกล่าวถึงในผลการสำรวจดังกล่าว
ได้แก่
ประการที่ 1
|
ปัจจัยความเสี่ยงทางธุรกิจที่มีความสำคัญ คือ
1. การปรับตัวและการปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎเกณฑ์ ระเบียบที่เกิดใหม่ และมีอยู่แล้วก่อนหน้านั้น รวมทั้งเงื่อนไขที่เป็นข้อกำหนดที่ระบุในกรมธรรม์ประกันภัย รวมทั้งการประกันภัยพิบัติ
2. นโยบายและประเด็นปัญหาทางการเมือง และการตัดสินใจทางการเมืองที่กระทบต่อสภาพแวดล้อมทางธุรกิจและผลประกอบการทางธุรกิจ
ทั้งนี้ ปัจจัยความเสี่ยงทางธุรกิจ 10 ประการที่ใช้ในการสำรวจ ได้แก่
การกำกับให้การปฏิบัติงานในกิจการเป็นไปตามกลยุทธ์ของกิจการ
การบริหารงานพันธมิตรทางธุรกิจ
การบริหารลิขสิทธิ์ สิทธิบัตร ภูมิปัญญาของกิจการ
ความล่าช้าในการกอบกู้ธุรกิจ หากเกิดการหยุดชะงัก
ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ
ความยากลำบากในการขอสินเชื่อแหล่งเงินและสถาบันการเงิน
การปรับลดต้นทุนการดำเนินงาน
การบริหารความเสี่ยงที่สังคมโดยรวมยอมรับได้และบทบาทและโปรแกรมความรับผิดชอบต่อสังคม
แนวโน้มความต้องการให้ใช้แนวคิด “กรีน” ในการดำเนินธุรกิจ
การเปลี่ยนแปลงและเพิ่มขึ้นของกฎเกณฑ์ ระเบียบ รวมทั้งกฎเกณฑ์ที่มีอยู่แล้ว
|
ประการที่ 2 |
ปัจจัยความเสี่ยงที่เพิ่มความสำคัญและถือว่าเป็นความเสี่ยงเกิดใหม่ของปี
2010 คือ บทบาทและโปรแกรมความรับผิดชอบต่อสังคม
เพราะกิจการเชื่อว่าเป็นปัจจัยความเสี่ยงที่จะกระทบต่อชื่อเสียงความไว้วางใจของลูกค้าและสังคมที่มีต่อกิจการ
และอาจจะกระทบไปถึงภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมโดยรวมด้วย
|
ประการที่ 3
|
ในทุกประเภทของธุรกิจหรืออุตสาหกรรม
จะเลือกปัจจัยความเสี่ยงทางด้านธุรกิจประมาณ 4 ปัจจัยเสี่ยงจาก 10 ปัจจัยเสี่ยงว่ามีความสำคัญ
และมีความจำเป็นต้องบริหารจัดการอย่างเพียงพอ
|
ประการที่ 4
|
กิจการที่ตอบแบบสอบถามระบุว่ามีการติดตาม
วิเคราะห์และสแกนสถานการณ์ของสภาพแวดล้อมภายนอกกิจการอยู่เสมอ เพื่อค้นหาและระบุความเสี่ยงเกิดใหม่ในด้านธุรกิจ
และเห็นว่าการมีความเสี่ยงเกิดใหม่เป็นตัวเพิ่มความไม่แน่นอนในการทำธุรกิจของกิจการมากที่สุด
จนกระทบต่อมูลค่าของกิจการทั้งระยะสั้นและระยะยาว
ในระยะหลัง ๆ
กิจการได้ขยายขอบเขตของการติดตาม วิเคราะห์
และค้นหาสถานการณ์ด้านสภาพแวดล้อมเพื่อหาปัจจัยความเสี่ยงทางธุรกิจออกไปสู่ห่วงโซ่อุปทานมากขึ้น
โดยครอบคลุม
1) ซับพลายเออร์
2) ลูกค้า
3) พันธมิตรทางธุรกิจ
4) ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหลัก
|
ประการที่ 5
|
นอกเหนือจากการติดตาม วิเคราะห์
และสแกนในสภาพแวดล้อมภายนอกแล้ว การค้นหาและระบุปัจจัยความเสี่ยงด้านธุรกิจที่สำคัญในระยะหลัง ๆ คือ
การวิเคราะห์ด้วยฉากทัศน์ (Scenario Analysis) เพื่อพยายามค้นหาและสร้างภาพของปัจจัยความเสี่ยงที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในอดีต
อันเป็นการลดความเสี่ยงจากการผูกติดอยู่กับอดีต และทำให้กิจการสามารถตอบโต้กับความเสี่ยงจากความไม่แน่นอน (Uncertainty
Risk) ได้อย่างทันท่วงที ซึ่งทำให้กิจการส่วนใหญ่ทำแผนเตรียมความพร้อมและเตรียมรับมือต่อความเปลี่ยนแปลงในสถานการณ์มากขึ้น
|
ประการที่ 6
|
กิจการส่วนใหญ่เห็นว่าการปรับตัวต่อมาตรฐานหรือกฎเกณฑ์ใหม่เพียงพอนั้น
ไม่อาจจะทำได้ในระยะสั้น ๆ จำเป็นต้องทำเป็น Roadmap
เพื่อวางกิจกรรมระยะยาวและใช้การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพในการกำกับและปฏิบัติงานของบุคลากรภายในองค์กร
|
ที่มา : https://chirapon.wordpress.com
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น