ค่าที่วัดระดับความเสี่ยงทางการเงิน
การที่กิจการยอมรับความเสี่ยงทางการเงิน
ที่เป็นภาระผูกพันทางการเงินจากการใช้เงินทุนจากแหล่งเงินทุนที่ต้องเสียค่าใช้จ่ายคงที่
หรือที่เรียกว่า Financial Leverage นั้น
จะเห็นได้ว่า Financial Leverage มีผลกระทบต่อความเสี่ยงทางการเงิน
ดังนั้น ค่าที่วัดระดับความเสี่ยงทางการเงินก็คือ Degree of Financial
Leverage (DFL)
Degree
of Financial Leverage เป็นอัตราส่วนเปรียบเทียบระหว่างเปอร์เซ็นต์การเปลี่ยนแปลงในกำไรต่อหุ้นสามัญต่อเปอร์เซ็นต์การเปลี่ยนแปลงในกำไรจากการดำเนินงานดังนั้น
degree of financial leverage จึงคำนวณได้ดังนี้
DFL = % △EPS
% △EBIT ……..สูตรที่ 1
หรือ DFL = EBIT
EBIT – I ..........สูตรที่ 2
หรือ DFL = Q(P-AVC)-TF
Q(P-AVC)-TFC – I ……..สูตรที่ 3
ตัวอย่างที่ 5 จากข้อมูลในตัวอย่าง 3 และ
4 ถ้าขณะนี้บริษัทมีดอกเบี้ยจ่ายรวม 10,000 บาทและมีทุนหุ้นสามัญอยู่ 1,000 หุ้น
เสียภาษีเงินได้ในอัตรา 30% จงหา degree of financial
leverage ณ ระดับปริมาณขาย 2,000 หน่วย 2,500
หน่วย ณ (จุดคุ้มทุน 3,000 )หน่วยที่ 3,600
หน่วยและ 5,000 หน่วยตามลำดับ
วิธีทำ ถ้าคำนวณค่า DFL โดยใช้สูตรที่ 1 ต้องหาค่า EPS ณ ระดับปริมาณขายแต่ละระดับก่อนดังนี้
ปริมาณขายหน่วย 3,600 5,000
ยอดขายบาท 288,000 400,000
ต้นทุนคงที่รวม 1 50,000 150,000
ต้นทุนผันแปรรวม 108000 100,000
ต้นทุนรวม 258,000 300,000
กำไรจากการดำเนินงาน 30,000 100,000
ดอกเบี้ยจ่าย 10,000 10,000
กำไรก่อนภาษี 20,000 90,000
ภาษี 30% 6,000 27,000
กำไรสุทธิหลังภาษี 14,000 63,000
จำนวนหุ้น 1,000 1,000
กำไรต่อหุ้นบาท 14 63
สูตรที่ 1 DFL ณ ระดับ 3,600 หน่วย = 63 - 14
14
100,000 - 30,000 30,000
= 49 x 30,000
14 70,000
= 1.5
DFL ณ ระดับ 5,000 หน่วย = 14 - 63
63
30,000 - 100,000
100,000
= - 49 x 100,000
63 -70,000
= 1.11
หรือ
สูตรที่ 2 DFL ณ ระดับ 3,600 หน่วย = 30,000
30,000-10,000
= 30,000
20,000
= 1.5
สูตรที่ 3 DFL ณ ระดับ 3,600 หน่วย = 3,600( 80-30) – 150,000
3,600( 80-30) – 150,000-10,000
= 30,000
20,000
= 1.5
ที่มา : เพ็ญพิมล ลีโนทัย การเงินธุรกิจ.--กรุงเทพฯ : ทริปเพิ้้ล เอ็ดดูเคชั่น, 2558. 245 หน้า
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น