ความสัมพันธ์ของค่าที่วัดระดับความเสี่ยงทางธุรกิจและค่าที่วัดระดับความเสี่ยงทางการเงิน
เนื่องจาก DOL เป็นค่าที่บอกให้ทราบถึงอัตราการเปลี่ยนแปลงในกำไรจกาดำเนินงาน (EBIT) ที่เป็นผลเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงในปริมาณขาย ในขณะที่ DFL เป็นค่าที่บอกให้ทราบถึงอัตราการเปลี่ยนแปลงในกำไรต่อหุ้นสามัญ (EPS) ที่เป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงของระดับกำไรจากการดำเนินงาน ดังนั้น ค่าที่ให้ทราบถึง อัตราเปลี่ยนแปลงในกำไรต่อหุ้น (EPS) ที่เป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงของปริมาณขาย จึงเป็นค่าที่เกิดจากผลลัพธ์ของ DOL ซึ่งเป็นค่าที่ใช้วัดระดับภาระผูกพันของธุรกิจโดยรวม มีชื่อเรียกว่า Degree of Total Leverage (DTL) (Handerson et at, 1984: 357) นั้นคือ

เช่น ที่ระดับปริมาณขาย 3,600
หน่วย บริษัทจงรัก
จำกัด มีค่า DOL = 6 และค่า DFL = 1.5 ดังนั้น
ค่า DTL = 6 X 1.5 = 9.0 ซึ่งเป็นค่าที่บอกให้ทราบว่า
ถ้าปริมาณขายเปลี่ยนแปลงไป 10%
จะทำให้กำไรต่อหุ้นสามัญเปลี่ยนแปลงไป 90%
ความเหมาะสมของเครื่องมือวัดขนาดความเสี่ยงทางการเงิน
คือ
การที่เครื่องมือสามารถอธิบายสิ่งที่จะวัดได้อย่างเพียงพอ
ถูกต้องและครบถ้วนในกรณีของความเสี่ยงทางการเงิน
โมเดลการวัดความเสี่ยงไม่ได้ผลเมื่อสถานการณ์หรือสมมติฐานที่กำหนดไว้ไม่เป็นจริงอีกต่อไป
ประเด็นที่ต้องพิจารณาด้านนิยาม
สิ่งที่กิจการต้องพิจารณาในการวัดขนาดของความเสี่ยงทางการเงิน
โดยเฉพาะกรณีของสถาบันการเงินก็คือ
- ความไม่แน่ใจว่าจะนิยามคำว่าความเสี่ยงอย่างไร
- การนิยามความเสี่ยงเป็นไปได้หลากหลายความหมาย
นิยามที่1
ความเสี่ยงคือขนาดความเสี่ยงจากการสูญเสียสูงสุด
(Maximum Loss) ณ ระดับความเป็นไปได้ที่กำหนดให้ (Given Probability) เป็นความสูญเสียจากการที่ถือครองพอร์ตสินทรัพย์ (Asset Portfolio) ภายในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งที่พิจารณาและต้องการวัดขนาดของความเสี่ยง
นิยามที่2
ความเสี่ยงคือขนาดของความสูญเสียสูงสุดที่จะเกิดขึ้น
อันเป็นผลมาจากการถือครองสินทรัพย์ภายในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งที่พิจารณาและต้องการวัดขนาดของความเสี่ยง
ไม่ได้จำกัดด้วยระดับความเป็นไปได้ใดๆ
Value at Risk
กิจการทั่วไปจะเลือกที่จะใช้นิยามอย่างใดอย่างหนึ่งใน
2 อย่างข้างต้น
ซึ่งกรณีของการเลือกใช้นิยามแรกเป็นการเลือกที่จะใช้ Value at Risk : VaR เป็นเครื่องมือวัดVaR เป็นเครื่องมือมีข้อจำกัด คือ
พิจารณาความเสี่ยงเป็นเพียงค่าความแปรปรวน (Variance) คิดเป็น%จากผลลัพธ์ที่เป็นค่าเฉลี่ย
(Average or Mean) ซึ่งมีข้อจำกัดเพราะไม่ได้พิจารณาไปถึงความเสียหายจากกรณีสุดขั้ว
(Extreme Outcomes)ด้วยข้อจำกัดนี้ทำให้หลายกิจการติดอยู่กับอดีตกับค่าเฉลี่ย
ไม่เชื่อว่าจะเกิดกรณีสุดขั้ว ไม่สนใจโอกาสที่เกิด 1 ใน 10
ปี หรือ 20 ปี ประโยชน์ของการใช้ VaR เป็นเครื่องมือวัดความเสี่ยงคือเป็นการวัดเพื่อเริ่มต้นกระบวนการวัดและประเมินความเสี่ยงก่อนที่จะใช้เครื่องมือวัดแบบอื่นๆมาประกอบต่อไป อีกประการหนึ่งคือ
การหาข้อมูลของสถานการณ์สุดขั้วเป็นเรื่องยาก
เพราะอาจจะไม่เคยมีประวัติในอดีตมาก่อน
จึงไม่รู้ว่าแตกต่างหรือทิ้งห่างจากค่ากลางหรือค่าเฉลี่ยมากน้อยเพียงใด
การที่จะใช้เครื่องมืออื่นได้ จะต้องมีวิธีการและหลักการในการติดตั้งสมมติฐานของสถานการณ์และการหาข้อมูลมาใช้ในการพิจารณาได้อย่างน่าเชื่อถือ นอกจากนั้น
กิจการส่วนใหญ่โดยเฉพาะสถาบันการเงินไม่ค่อยให้ความสนใจกับการวัดความเสี่ยงของสินทรัพย์ทุกอย่างในภาพรวม
และองค์ประกอบของพอร์ตทุกพอร์ตมากกว่า
ความสัมพันธ์เชิงเงื่อนไขที่ปรับเปลี่ยนไป
ในกิจการหรือสถาบันการเงินที่มีพอร์ตขนาดใหญ่และซับซ้อนที่ต้องการวัดขนาดของความเสี่ยงของพอร์ต
สิ่งที่ต้องใช้เป็นเรื่องของขนาดความสูญเสียสูงสุด(Maximum Loss) เท่าที่จะเป็นไปได้มากกว่า
วัตถุประสงค์ของการวัดความเสี่ยงแบบนี้
ไม่ได้สนใจความสูญเสียของแต่ละพอร์ตที่มีองค์ประกอบเป็นสินทรัพย์ที่คล้ายคลึงกันเท่านั้น
หากแต่ยังสนใจความสูญเสียที่มาจากความสัมพันธ์และเกี่ยวข้องกันของแต่ละพอร์ตด้วย
ซึ่งอาจจะเรียกว่า Dynamic Conditional
Correlation : DCC ซึ่งเป็นกรณีของสถานการณ์สุดขั้วในตลาดเงิน
กรณีนี้กิจการจะตั้งสมมติฐานว่า
พอร์ตแต่ละพอร์ตมีความสัมพันธ์กันในการเกิดสถานะโดยรวมในงบการเงินของกิจการ
และความเปลี่ยนแปลงของพอร์ตที่ไม่ซ้ำเติม
ก็มีความสัมพันธ์ต่อการเปลี่ยนแปลงของพอร์ตอื่นๆให้เปลี่ยนแปลงโดยไม่คงเส้นคงวา
ซึ่งกิจการต้องหาทางรับรู้เงื่อนไขเหล่านี้ให้ได้ความหมายของแนวคิดใหม่นี้คือ
ส่วนที่กรณีสุดขั้วของสถานการณ์ไม่ได้ขึ้นอยู่กับที่คนสามารถวาดเป็นเส้นกราฟได้ชัดเจน
เพราะจะปรับเปลี่ยนไปเรื่อยๆ (Dynamic) การวัดความเสี่ยงแต่ละครั้งจึงอาจจะต้องใช้สมมติฐาน 5 หรือ 7 ทางเลือก (Standard Duration) ของความแปรปรวน แทนที่จะใช้สมมติฐานเดียว จากการที่การใช้เครื่องมือแบบปรับเปลี่ยนไปตามสิ่งที่เกี่ยวข้องนี้ยังถือว่าเป็นความท้าทายของบรรดากิจการต่างๆ
โดยเฉพาะในด้าน
- การอธิบายเหตุการณ์หรือสถานการณ์ความเสี่ยง
- การกำหนดจุดควบคุมที่ควรจะเริ่มทำอะไรบางอย่างเพิ่มเติมหากกระบวนการเปลี่ยนแปลงเริ่มมีผลในทางที่กระทบต่อกิจการ
(Trigger)
- การระบุว่าความสัมพันธ์ได้เปลี่ยนแปลงไปจากความสัมพันธ์ที่เคยมีอยู่เดิมอย่างไร
ณ สถานการณ์ที่กำหนด
ประเด็นDCC นี้นำไปใช้กันมากในการวัดขนาดของสภาพคล่องของตลาด
ในชื่อที่เรียกกันว่า Liquidity Black holes ซึ่งเชื่อกันว่ามีอิทธิพลต่อการขับเคลื่อนความเปลี่ยนแปลงไปของความสัมพันธ์ระหว่างพอร์ตสินทรัพย์
การวัดความเสี่ยงด้วย Scenario Analysis
เนื่องจากประวัติศาสตร์มากมายไม่ได้ซ้ำรอยเดิมเหตุการณ์หลายเรื่องในตลาดการเงินไม่ได้เกิดซ้ำๆกัน
จึงทำให้กิจการหันมาสนใจกับ Scenario
Analysis มากขึ้น ด้วยการสร้างฉากทัศน์ (Scenario) เพื่อใช้ในการทดสอบสถานการณ์เสี่ยงล่วงหน้า โดยเฉพาะ Stress
Testing
อย่างไรก็ตามยังไม่มีวิธีการตรวจสอบทางสถิติที่สามารถวัดค่าความเที่ยงตรง(Validity) ของการสร้าง Scenario
ที่ทำขึ้น
นั่นคือยังไม่สามารถหาความถูกต้องของความน่าเชื่อถือของโอกาสเกิดหรือสมมติฐานที่สร้างขึ้นด้วยวิธีนี้ได้
นอกจากนั้น Scenario ควรจะสร้างขึ้นจากระดับบริหาร
คณะกรรมการบริษัท หรือหน่วยงานที่กำกับดูแลกิจการ เพราะจะสอดคล้องกับวัตถุประสงค์และพันธกิจระดับองค์กร
มากกว่าระดับปฏิบัติการและยังมีการปรับเปลี่ยนให้ยืดหยุ่นตาม Risk Profile และโมเดลธุรกิจของแต่ละกิจการได้ง่ายกว่า
เพื่อให้เป็นประโยชน์ต่อการวางแผนธุรกิจ และการจัดสรรทรัพยากร งบประมาณ
หรือแม้แต่เงินกองทุนไปตามสินทรัพย์เสี่ยง กิจการจะยกแต่ละ Scenario เป็นสถานการณ์พิเศษและกำหนดว่าน่าจะส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานของกิจการอย่างไร
และควรมีแผนสำรองเผื่อไว้อย่างไร
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น